วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรรพคุณของดาวเรือง

สรรพคุณของดาวเรือง


ใบ : รสชุ่มเย็น มีกลิ่นฉุน ใช้แก้ฝีฝักบัว ฝีพุพอง เด็กเป็นตานขโมย ตุ่มมีหนอง บวมอักเสบโดยไม่รู้สาเหตุ
ช่อดอก : รสขม ฉุนเล็กน้อย ใช้กล่อมตับ ขับร้อน ละลายเสมหะ แก้เวียนศีรษะ ตาเจ็บ ไอหวัด ไอกรน หลอดลมอักเสบ เต้านมอักเสบ คามทูม เรียกเนื้อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น และแก้ปวดฟัน


ตำรับยา

1.
แก้ไอกรน ใช้ช่อดอกสด 15 ช่อ ต้มเอาน้ำมาผสมน้ำตาลแดงกิน
2.
แก้หลอดลมอักเสบ ใช้ช่อดอกสด 30 กรัม กับจุยเฉี่ยวเอื้อง สด 10 กรัม และจี๋อ้วง สด 7 กรัม ต้มน้ำกิน
3.
แก้เต้านมอักเสบ ใช้ช่อดอกแห้งเต่งเล้า แห้งและดอกสายน้ำ แห้งอย่างละเท่า ๆ กัน บดเป็นผงผสมน้ำส้มสายชูทาบริเวณที่เป็น
4.
แก้ปวดฟัน ตาเจ็บ ใช้ช่อดอกแห้ง 10 กรัม ต้มน้ำกิน
ผลทางเภสัชวิทยา

1.
ในใบมี มีฤทธิ์แก้อักเสบให้หนูตะเภากินขนาด 50 มก./กก.ของน้ำหนักตัวจะทำให้หลอดเลือดฝอยตีบตันทำให้เลือดหยุด เนื้อหนังเจริญดีขึ้น มีฤทธิ์แรงกว่ารูติน และมีปริมาณวิตามินพี ค่อนข้างสูง นอกจากนี้สารนี้ยังสามารถลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก ที่แยกจากตัวของกระต่าย ทำให้จังหวะการบีบตัวลดลง

2.
ดอกมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นได้ เคยใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค และสงบประสาท เช่นเดียวกับต้น ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์สงบประสาท ลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด หลอดลม และแก้อักเสบ
สารเคมีที่พบ
ช่อดอกมี 0.1% และสารเรืองแสง 15-21 มก. / กก. ของดอกสด 74%, มีคนกล่าวว่ามีผลทำให้เนื้อเยื่อตาดีขึ้น ใบ มี เมล็ด มีน้ำมัน

เภสัชตำรับของเม็กซิโก เคยใช้ช่อดอกและใบต้มน้ำกิน ขับลม และขับปัสสาวะ
ในอินเดียน้ำคั้นจากช่อดอก ใช้ฟอกเลือดและแก้ริดสีดวงทวาร
ในบราซิลใช้ช่อดอกชงน้ำแก้อาการปวดตามข้อ หลอดลมอักเสบ ใบและช่อดอกชงน้ำกิน ใช้ขับพยาธิ ช่อดอกใช้ภายนอกในโรคตาและแผลเรื้อรังต่าง ๆ ไปใช้พอกฝี ฝีฝักบัว น้ำคั้นจากใบใช้แก้ปวดหู รากใช้เป็นยาระบาย
ในไทยใช้น้ำคั้นจากใบ ผสมน้ำมันมะพร้าวเคี่ยวจนส่วนน้ำระเหยหมดใช้ทาแผลเปื่อยเน่า ฝีต่าง ๆ

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคและแมลงที่สำคัญต่อดาวเรือง


โรคและแมลงที่สำคัญต่อดาวเรือง


     
1. โรคเหี่ยว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา (Phytoptora)มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอกกำลังเริ่มทยอยบาน ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ กล่าวคือ อาการเหี่ยวจะแสดงในตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3-4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้นและตายไปในที่สุด
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง


   
2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว ๆ ตามใบของดาวเรือง ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง


   
3. โรคดอกไหม้ เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง


   
4. เพลี้ยไฟ เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ ๆ โคนต้น โดยฝังให้ห่างโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง


   
5. หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท, แคสเคต หรือใช้เชื้อไวรัสทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี (NPV)ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาด

 

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ชนิดของดาวเรือง


ชนิดของดาวเรือง

   ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                                              

   1. ดาวเรืองอเมริกัน
เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกา ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่

พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า ไพน์แอปเปิล ปัมพ์กิน เป็นต้น

พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล ไวกิ่ง มูนช๊อต เป็นต้น

พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดับบลูน
ซอฟเวอร์เรน เป็นต้น

                                                       
   2. ดาวเรืองฝรั่งเศส  ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้นเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีก้านดอกสั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปมในรากพืชได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่

พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด มาเรตต้า นอธตี้ มาเรตต้า เอสปานา ลีโอปาร์ด เป็นต้น

พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย สการ์เลต โซเฟีย โกลเด้น เกต เป็นต้น    3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม       เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง  ดอกใหญ่   และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน
รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส   ดาวเรืองลูกผสมให้ดอกเร็วมาก คือ
เพียง   สัปดาห์




การเกษตรเรื่องการดูแลรักษาดาวเรือง


การเกษตรเรื่องการดูแลรักษาดาวเรือง
 
 
·         การรดน้ำ ในช่วงเริ่มปลูกจนต้นดาวเรืองมีอายุได้ 7 วัน เกษตรกรควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ทุก ๆ เช้าและเย็น และหลังจากนั้นให้ทำการรดน้ำวันละครั้งเฉพาะในตอนเช้าเท่านั้น และในช่วงดอกดาวเรืองเริ่มบานเกษตรกรจะต้องระมัดระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรืองเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย

·         การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุได้ 15วัน และ 25 วัน เกษตรกรควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุได้ 35 วัน และ 45 วัน เกษตรกรควรทำการใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน โดยใส่ให้ห่างโคนต้นดาวเรืองประมาณ 6 นิ้ว ฝังปุ๋ยลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นให้เกษตรกรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นดาวเรืองและกลบโคนต้นไว้และทำการรดน้ำให้โชก

·         การปลิดยอด หรือที่เรียกกันว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้มนั่นเอง ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่เกษตรกรควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุได้ประมาณ 21-25 วัน ใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ข้อควรระวังคือเกษตรกรไม่ควรเด็ดยอดเพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกดาวเรืองบานไม่พร้อมกันและมีดอกดาวเรืองจะมีขนาดเล็ก

·         การปลิดตาข้าง หลังจากที่เกษตรกรทำการปลิดตายอดประมาณ 7 วัน เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้เกษตรกรทำการปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ