วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคและแมลงที่สำคัญต่อดาวเรือง


โรคและแมลงที่สำคัญต่อดาวเรือง


     
1. โรคเหี่ยว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา (Phytoptora)มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอกกำลังเริ่มทยอยบาน ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ กล่าวคือ อาการเหี่ยวจะแสดงในตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3-4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้นและตายไปในที่สุด
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง


   
2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว ๆ ตามใบของดาวเรือง ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง


   
3. โรคดอกไหม้ เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง


   
4. เพลี้ยไฟ เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ ๆ โคนต้น โดยฝังให้ห่างโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง


   
5. หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท, แคสเคต หรือใช้เชื้อไวรัสทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี (NPV)ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาด

 

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ชนิดของดาวเรือง


ชนิดของดาวเรือง

   ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                                              

   1. ดาวเรืองอเมริกัน
เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกา ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่

พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า ไพน์แอปเปิล ปัมพ์กิน เป็นต้น

พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล ไวกิ่ง มูนช๊อต เป็นต้น

พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดับบลูน
ซอฟเวอร์เรน เป็นต้น

                                                       
   2. ดาวเรืองฝรั่งเศส  ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้นเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีก้านดอกสั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปมในรากพืชได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่

พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด มาเรตต้า นอธตี้ มาเรตต้า เอสปานา ลีโอปาร์ด เป็นต้น

พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย สการ์เลต โซเฟีย โกลเด้น เกต เป็นต้น    3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม       เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง  ดอกใหญ่   และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน
รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส   ดาวเรืองลูกผสมให้ดอกเร็วมาก คือ
เพียง   สัปดาห์




การเกษตรเรื่องการดูแลรักษาดาวเรือง


การเกษตรเรื่องการดูแลรักษาดาวเรือง
 
 
·         การรดน้ำ ในช่วงเริ่มปลูกจนต้นดาวเรืองมีอายุได้ 7 วัน เกษตรกรควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ทุก ๆ เช้าและเย็น และหลังจากนั้นให้ทำการรดน้ำวันละครั้งเฉพาะในตอนเช้าเท่านั้น และในช่วงดอกดาวเรืองเริ่มบานเกษตรกรจะต้องระมัดระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรืองเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย

·         การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุได้ 15วัน และ 25 วัน เกษตรกรควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุได้ 35 วัน และ 45 วัน เกษตรกรควรทำการใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน โดยใส่ให้ห่างโคนต้นดาวเรืองประมาณ 6 นิ้ว ฝังปุ๋ยลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นให้เกษตรกรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นดาวเรืองและกลบโคนต้นไว้และทำการรดน้ำให้โชก

·         การปลิดยอด หรือที่เรียกกันว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้มนั่นเอง ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่เกษตรกรควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุได้ประมาณ 21-25 วัน ใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ข้อควรระวังคือเกษตรกรไม่ควรเด็ดยอดเพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกดาวเรืองบานไม่พร้อมกันและมีดอกดาวเรืองจะมีขนาดเล็ก

·         การปลิดตาข้าง หลังจากที่เกษตรกรทำการปลิดตายอดประมาณ 7 วัน เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้เกษตรกรทำการปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ